วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รูปแบบของฐานข้อมูล

1.ฐานข้อมูลแบบลาดับชั้น (The Hierarchical Database Model) มีลักษณะเป็นแผนภูมิต้นไม้ (Tree) ความสัมพันธ์เป็นแบบพ่อกับลูก (Parent/Child Relation) ลูกค้าแต่ละคนจะไม่สามารถได้รับบริการจากพนักงานขายมากกว่าหนึ่งคนได้ สินค้าแต่ละชนิดก็จะถูกซื้อ โดยลูกค้าเพียงคนเดียวเท่านั้น ลักษณะของฐานข้อมูลแบบลาดับชั้นมีความสัมพันธ์แบบ หนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one) และหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many) แต่ไม่มีความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (many-to-many)


2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (The Network Database Model)
โดยโครงสร้างของฐานข้อมูลแบบเครือข่ายก็เป็น Tree เช่นเดียวกับฐานข้อมูลแบบลาดับชั้น แต่จะเป็น Tree ที่ดูซับซ้อนมากขึ้นเพื่อรองรับความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม


3. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (The Relational Database Model) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลนั้นเป็นตารางซึ่งเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเหมือนกันไว้

ส่วนประกอบของระบบฐานข้อมูล

ส่วนประกอบของระบบฐานข้อมูล
1. Hardware คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะนามาใช้งาน 
2. Software หมายถึง ระบบปฏิบัติการ, ซอฟต์แวร์การจัดการฐานข้อมูล(DBMS), Application Program และ Utility Program 
3. Data คือ ข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล และคาอธิบายข้อมูล (Meta-data)ซึ่งเป็นข้อมูลที่อธิบายคุณลักษณะของข้อมูล เช่น โครงสร้างของข้อมูล 
4. Procedure คือ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผู้ใช้จะจัดการกับฐานข้อมูลตามขั้นตอนการปฏิบัติงานที่กาหนดไว้ตามคู่มือ 
5. People คือ บุคลากรที่มีหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูล เช่น ผู้บริหารข้อมูลและฐานข้อมูล (Data and Database Administrators), นักออกแบบฐานข้อมูล(Database Designers), นักเขียนโปรแกรม(Application Programmers) และผู้ใช้งาน (End Users)
                                                               ส่วนประกอบของระบบฐานข้อมูล



http://www.requestradio.in.th/

ระบบฐานข้อมูลคืออะไร

            ระบบฐานข้อมูล  หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลมาไว้ด้วยกัน ที่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยกลุ่มข้อมูลนี้ต้องเป็นเรื่องเดียวกันและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้งานร่วมกันได้ ทาให้ลดความซ้าซ้อนของข้อมูล และสามารถควบคุมดูแลความปลอดภัยได้ง่าย ในหน่วยงานต่าง ๆ มีการเก็บข้อมูลในรูปแบบของระบบฐานข้อมูลมากขึ้น และปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ประเภท ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database management system) ในการใช้จัดการกับฐานข้อมูล เพื่อลดข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ ทาให้ข้อมูลมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ตลอดเวลา เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
            การจัดข้อมูลให้เป็นระบบฐานข้อมูลทำให้ข้อมูลมีส่วนดีกว่าการเก็บข้อมูลใน รูปของแฟ้มข้อมูล เพราะการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูล จะมีส่วนที่สาคัญกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูลดังนี้ 
1. ลดการเก็บข้อมูลที่ซ้าซ้อน 
2.รักษาความถูกต้องของข้อมูล 
3.การป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลทาได้อย่างสะดวก 
4.สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ 
5.มีความเป็นอิสระของข้อมูล
6.สามารถขยายงานได้ง่าย 
7.ทาให้ข้อมูลบูรณะกลับสู่สภาพปกติได้เร็วและมีมาตรฐาน